วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ต้นข่อย

              ข่อย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สนนาย เป็นไม้ยืนต้นที่ชาวไทยรู้จักกันดี เพราะข่อยนั้น ถือได้ว่า เป็นแปรงสีฟันในยุคแรกๆ ของประเทศไทยเลยทีเดียว คนโบราณเชื่อกันว่าหากบ้านใด ที่ปลูกต้นข่อยเอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะมีความมั่นคงปลอดภัย และแคล้วคลาดจากอันตรายที่เกิดจากผู้ไม่หวังดี หรือศัตรูที่อาจทำอันตรายแก่สมาชิกภายในบ้าน และผู้คนในบ้านก็จะมีความแข็งแกร่ง อดทนได้ดีเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งความเชื่อนี้ก็เกิดขึ้นเพราะต้นข่อยนั้น เป็นต้นไม้ที่แข็งแรงทนทาน มีอายุยืนหลายชั่วอายุคน และใบของมันยังนำมาโบกพัด เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไปจากบ้านได้เช่นกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Streblus  asper  Lour. 
ชื่อวงศ์
 MORACEAE
ชื่อสามัญ
 ข่อย
ชื่อทางการค้า
Siamese rough bush, Tooth brush tree. 
ชื่อพื้นเมือง
กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ข่อย (ทั่วไป) ซะโยเส่ (กะหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ส้มพอ (ร้อยเอ็ด ) สะนาย (เขมร)
ลักษณะทั้วไป
ข่อยเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง 5-15 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปม รูปทรง (เรือนยอด)  พุ่มกลม  แน่นทึบ พบทั่วไปในที่ราบ  ในป่าเบญจพรรณแล้งจนถึงป่าดิบแล้งทั่วไปที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 20-600 เมตร  ในต่างประเทศพบในลาว  พม่า  เขมร
ใบ
ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ  ตัวใบมีรูปร่างหลายลักษณะ มีทั้งรูปรี  รูปสามเหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปไข่ ปลายมนโค้ง  โคนใบแหลม  ขอบใบหยัก  ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-7 ซม.  เนื้อใบหยาบและระคายมือ 
ดอก
ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างดอกกัน ออกใบที่ปลายกิ่ง  ดอกตัวเมียอยู่เดี่ยวๆ ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กกว่ามาก  และอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกดอก ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 
ผล
รูปไข่ ขนาดประมาณ 0.5 ซม.  มีเนื้อฉ่ำน้ำหุ้ม  มีเมล็ดขนาดประมาณเมล็ดพริกไทย  ผลแก่สีเหลือง  เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสหวานกินได้ นกชอบกิน ผลแก่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 
การขยายพันธุ์
 นิยมใช้รากปักชำ  ซึ่งข่อยจะเติบโตได้เร็วกว่าใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด
ประโยชน์
เนื้อไม้ข่อยในสมัยโบราณนิยมนำมาทำกระดานข่อย  เนื้อไม่นิยมนำมาก่อสร้าง  เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนและไม่ทนทาน ลำต้นปลูกเป็นแนวกันลม ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ให้ความร่มรื่น หรือนำมาปลูกเป็นไม้ดัด  ไม้แคระของไทยมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน  โดยนำมาปลูกแต่งสนามหญ้ากลางแจ้ง  สามารถตัดแต่งเรือนยอดได้ดี
สรรพคุณทางยา
เปลือก  มีสรรพคุณแก้โรคฟัน  รักษาแผล  แก้ท้องร่วง  รสเบื่อเมา  ดับพิษภายใน  ทาริดสีดวงแก้พยาธิผิวหนัง  ต้มกับเกลือให้เค็มเป็นยาอมแก้รำมะนาด
ยาง  จากต้นไม้มีน้ำย่อยชื่อ milk (lotting enzyme) ใช้ย่อยน้ำนม ราก  ใช้เป็นยาใส่แผล เนื้อไม้  ใช้ผสมเป็นยาสูบ 

กิ่งอ่อน ทุบให้นิ่มใช้สีฟัน  คนเชียงใหม่ใช้แก่นข่อยหั่นเป็นฝอยมวนเป็นบุหรี่สูบแก้ริดสีดวงจมูก

เมล็ด  เข้ายาอายุวัฒนะ  บำรุงธาตุ  และเจริญอาหาร 

ข่อย เป็นทั้งไม้ยืนต้น และเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรพคุณทางยามาตั้งแต่โบราณ เป็นต้นไม้ขวัญใจเด็กๆภูธร เพราะ "ลูกข่อย" นั้นมีรสหวานรับประทานอร่อย และพบได้ทั่วไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น