ชื่อภาษาอังกฤษ | White champaka | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Michelia X alba DC. | |
ถิ่นกำเนิด | อินโดนีเซีีย | |
วงศ์ ความสำคัญทางเศรษฐกิจ | Magnoliaceae
จำปี-จำปา เป็นไม้ดอกยืนต้นที่ปลูกในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว ในปัจจุบันมีเกษตรกรสนใจปลูกเป็นการค้ากันมากขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บดอกใช้ทำพวงมาลัยหรือใช้ประกอบในงานพิธีต่าง ๆ และยังปลูกตกแต่งสวนได้เพราะว่าทั้งดอกจำปี-จำปามีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีจำปีสีนวล จำปาแขกที่จัดเป็นชนิดเดียวกันอีกด้วย พื้นที่การปลูกจำปี-จำปาในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2534 มีประมาณ 2,000 ไร่ และผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศมีเพียงส่วนน้อยที่เหลือส่งออกประเทศที่รับซื้อคือเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม บรูไน (ข้อมูลจากด่านตรวจพืช)
| |
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ | ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง กิ่งมีขนสีเทา ใบเดี่ยวเรียงเวียน หูใบยาวถึง 2.5 เซนติเมตร มีขน ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ถึงแกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 5.5-16 เซนติเมตร ยาว 15.35 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ยาว 3 เซนติเมตร โคนใบสอบเรียว ก้านดอกย่อย ยาว 0-2 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก สีขาว มีกลิ่นหอม กลีบรวม มี 12 กลีบ (อาจพบมี 8 กลีบ) รูปขอบขนาน ปลายแหลมขนาดใกล้เคียงกัน ยาว 3-3.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก 20-32 อัน เกสรเพศเมีย ก้านชูเกสร ยาว 0.5 เซนติเมตร รังไข่มี 10-13 อัน (อาจมี 4 อัน) แยกกัน ผิวเกลี้ยงหรือมีขนสีน้ำตาล ไม่ติดผล จำปี อาจเป็นลูกผสมที่เกิดตามธรรมชาติของ Michelia champaca Blume และ M. Blume ในมาเลเซียหรือชวา เพราะมีลักษณะผสมระหว่าง 2 ชนิดนี้ | |
นิเวศน์วิทยา | ไม่ทราบแหล่งกำเนิดในธรรมชาติ แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจกำเนิดในมาเลเซียหรือชวา มีการปลูกทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งร้อน รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมีการปลูกทั่วไปตามบริเวณบ้าน เป็นไม้ประดับยืนต้น แต่ปลูกเพื่อการค้า ขายดอกสด ยังไม่แพร่หลายนัก โดยใช้ปลูกจากกิ่งตอน | |
สรรพคุณ | ดอกแก้เป็นลม แก้ไข บำรุงหัวใจ ขับน้ำดี บำรุงโลหิต |
นานาพรรณไม้
รวมบรวมพรรณใม้ต่างเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นวิทยาทาน
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
ดอกจำปี
ดอกเข็ม
|
ต้นทองกวาว
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub.
วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ Flame of the forest, Bastard Teak
ชื่ออื่น กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ ทองต้น
ไม้ต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 -15 เมตร เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอนส่วนใหญ่ ทรงกระบอกหรือทรงกลม
เปลือก สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเทาคล้ำ แตกเป็นร่องตื้น ๆ และเป็นปุ่มปม ลำต้นและกิ่งคดงอ
ใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบ กลางรูปมนกว้างเกือบกลม ปลายใบมนโคนใบสอบ
ส่วนใบข้างอีก 2 ใบ รูปไข่ ปลายใบมน โคนใบแหลมแผ่นใบหนา และมีขนทั้งสองด้าน
ดอก ใหญ่รูปดอกถั่วสีเหลืองถึงแดงแสด ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ยาว 2 - 15 ซม.
กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 5 - 8 ซม.
ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน แบน กว้างประมาณ 3 - 4 ซม. ยาวประมาณ 10 - 15 ซม. มีขนนุ่ม เมล็ดแบน 1 - 2 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub.
วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ Flame of the forest, Bastard Teak
ชื่ออื่น กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ ทองต้น
ไม้ต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 -15 เมตร เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอนส่วนใหญ่ ทรงกระบอกหรือทรงกลม
เปลือก สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเทาคล้ำ แตกเป็นร่องตื้น ๆ และเป็นปุ่มปม ลำต้นและกิ่งคดงอ
ใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบ กลางรูปมนกว้างเกือบกลม ปลายใบมนโคนใบสอบ
ส่วนใบข้างอีก 2 ใบ รูปไข่ ปลายใบมน โคนใบแหลมแผ่นใบหนา และมีขนทั้งสองด้าน
ดอก ใหญ่รูปดอกถั่วสีเหลืองถึงแดงแสด ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ยาว 2 - 15 ซม.
กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 5 - 8 ซม.
ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน แบน กว้างประมาณ 3 - 4 ซม. ยาวประมาณ 10 - 15 ซม. มีขนนุ่ม เมล็ดแบน 1 - 2 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
นิเวศวิทยา ขึ้นตามที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้า หรือป่าละเมาะ ที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ ส่วนภาค อื่นขึ้นกระจัดกระจาย ยกเว้นภาคใต้ ออกดอก ธันวาคม - มีนาคม ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด เด็ดปีกแล้วนำไปแช่น้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ข้อสังเกตและผลการทดลอง 1. เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 10 วัน 2. ภายในระยะเวลา 3 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30 ซม. สามารถย้ายปลูกได้ ประโยชน์ เปลือกใช้ทำเชือกและกระดาษ ยางแก้ท้องร่วง ใบตำพอกฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด ท้องขึ้น ริดสีดวง เข้ายาบำรุง กำลังดอก ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาวทาแก้คันและแสบร้อน |
ดอกทานตะวัน
ชื่อสามัญทางวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus
ทานตะวัน เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญพืชหนึ่ง น้ำมันที่ได้จากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูง ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิค หรือกรดลิโนเลอิค ที่จะช่วยลดโคเลสเตอร์รอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมัน อุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้น้ำมันจากทานตะวันยังประกอบด้วยวิตามิน เอ ดี อี และเคด้วย ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น สหภาพโซเวียต อาร์เจนตินา และประเทศในแถบยุโรปตะวันออก สำหรับประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกทานตะวันเป็นอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับอุตสาหกรรมพืชน้ำมัน และความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะทานตะวันเป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี
ทานตะวันเป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตแห้งแล้งทั่ว ๆ ไป
ัลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ทานตะวันเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาส คำฝอย ดาวเรือง เป็นพืชล้มลุกที่มีปลูกกันมากในเขตอบอุ่น การที่มีชื่อเรียกว่า "ทานตะวัน" เพราะลักษณะการหันของช่อดอกและใบจะหันไปทางทิศของดวงอาทิตย์ คือ หันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตกในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่ ซึ่งช่อดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ
- ราก เป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 150-270 เซนติเมตร มีรากแขนงค่อนข้างแข็งแรงแผ่ขยายไปด้านข้างได้ยาวถึง 60-150 เซนติเมตร เพื่อช่วยค้ำจุนลำต้นได้ดี และสามารถใช้ความชื้นระดับผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลำต้น ส่วนใหญ่ไม่มีแขนง แต่บางพันธุ์มีการแตกแขนง ขนาดของลำต้น ความสูง การแตกแขนงขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ความสูงของต้นอยู่ระหว่าง 1-10 เซนติเมตร การโค้งของลำต้นตรงส่วนที่เป็นก้านช่อดอกมีหลายแบบ แบบที่ต้องการคือแบบที่ ส่วนโค้งตรงก้านช่อดอกคิดเป็นร้อยละ 15 ของความสูงของลำต้น พันธุ์ที่มีการแตกแขนง อาจมีความยาวของแขนงสูงกว่าลำต้นหลักแขนงอาจแตกมาจากส่วนโคนหรือยอด หรือตลอดลำต้นก็ได้
- ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันข้ามอยู่ 5 คู่แล้ว ใบที่เกิดหลังจากนั้นจะมีลักษณะวน จำนวนใบบนต้นอาจมีตั้งแต่ 8-70 ใบ รูปร่างของใบแตกต่างกันตามพันธุ์ สีของใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม ใบที่เกิดออกมาจากตายอดใหม่ ๆ ก้านใบจะอยู่ในแนวตั้งจนกระทั้งใบมีความยาว 1 เซนติเมตร ปลายยอดจะค่อย ๆ โค้งลงจนเมื่อใบแก่แล้วก็จะโค้งลงมาเป็นรูปตัวยู (U) การสร้างใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบาน หลังจากนั้นการสร้างใบจะลดน้อยลง
- ดอก เป็นรูปจาน เกิดอยู่บนตายอดของลำต้นหลัก หรือแขนงลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกอยู่ระหว่าง 6-37 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอก ประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- 1. ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลับดอกสีเหลืองส้ม
- 2. ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัวเมีย และสายพันธุ์ผสมเปิดส่วนใหญ่ผสมตัวเองน้อยมาก
- ในแต่ละจานดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700-3,000 ดอก ในพันธุ์ที่ให้น้ำมัน ส่วนพันธุ์อื่น ๆ อาจมีดอกย่อยถึง 8,000 ดอก การบานหรือการแก่ของดอกจะเริ่มจากวงรอบนอกเข้าไปสู่ศูนย์กลางของดอก ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นแขนงที่แตกออกมาตอนแรก ๆ ดอกจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับดอกบนลำต้นหลัก ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า มักจะเลือกต้นชนิดที่มีดอกเดี่ยว เพื่อความสมบูรณ์ของดอก และให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี
- เมล็ด (หรือผล) ประกอบด้วยเนื้อใน ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกที่แข็งแรง เมื่อผลสุกส่วนของดอกที่อยู่เหนือรังไข่จะร่วง ผลที่มีขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก ส่วนผลที่อยู่ข้างในใกล้ ๆ กึ่งกลางจะมีผลเล็กลง
- เมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
- 1. เมล็ดใช้สกัดน้ำมัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดำ เปลือกเมล็ดบางให้น้ำมันมาก
- 2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวกในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทำเป็นแป้งประกอบอาหาร หรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้วแทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่างเช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
- 3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือไก่โดยตรง
ดอกมะลิ
ชื่อสามัญ Sambac
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum.
ตระกูล OLEACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum.
ตระกูล OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป
ุ์มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ์
พันธ์ดอกมะลิ
มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
มะลิลาซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
มะลิซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอกดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน
มะลุลี มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์
มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก
มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ปลูกตามซุ้ม หรือพันรั้วก็ได้ มะลิวัลย์ชนิดนี้มีลำเถายาวและเลื้อยพันได้เป็นระยะทางไกลๆ แต่ดอกไม่ดก จึงไม่เป็นที่สะดุดตาเหมือนมะลิป่าชนิดอื่นๆ
พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งและข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว
ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้มหนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
เครือไส้ไก่ ไม้เถา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว มีกลิ่นหอม ผลสด รูปทรงกลมหรือรี ผลสุกสีดำ
อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน
มะลิเขี้ยวงูเป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด
ประโยชน์
มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และในดอกมะลิมีส่วนที่เป็นน้ำมันอยู่ 0.2-0.3% ดอกมีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น ส่วนรากมีรสขม ฤทธิ์อุ่น มีพิษ
ดอก มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง
ราก เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลับ
ดอก มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง
ราก เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลับ
สรรพคุณ
เยื่อตาขาวอักเสบ หรือตาแดง : ดอกมะลิสดล้างให้สะอาด ต้มจนเดือด สักครู่ นำน้ำที่ได้ใช้ล้างตา
ปวดกระดูก ปวดกล้ามเอ็น : รากมะลิสดทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด
ปวดฟันผุ : รากมะลิตากแห้งบดเป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาเหนียวข้น ใส่ในรูฟันผุ
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ รากมะลิมีพิษ ไม่ควรใช้รับประทานหรืออาจใช้แต่น้อย เช่น ใช้รากมะลิสดไม่เกิน 1.5 กรัม ฝนกับน้ำใช้ดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ
มะลิซ้อน ดอกสด ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด
ดอกแห้ง ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น
ใบสด นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ
ต้น ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและนำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้องหิต
ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง
มะลิวัลย์ ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้
ดอกแห้ง ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น
ใบสด นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ
ต้น ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและนำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้องหิต
ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง
มะลิวัลย์ ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้
ดอกทิวลิป
ชื่อสามัญ : tulip
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tulipa spp. L.
ตระกูล : Liliaceae
ทิวลิป (Tulip) เป็นชื่อสามัญของพันธุ์ไม้หัว ที่ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ ถ้าเราจะกล่าวกันถึง ต้นหรือดอก “ทิวลิป”
ก็จะเหมือนๆ กับการพูดถึง “กล้วยไม้” หรือ “กุหลาบ” อย่างนั้นเอง เพราะชื่อของทิวลิป กล้วยไม้ และกุหลาบ เป็นคำสามัญนามที่ไม่ได้มีจัดแยกประเภทกันว่า เป็นต้นไม้หรือดอกไม้อย่างไหน พันธุ์ไหน หรือชนิดไหน พันธุ์พืชแต่ละอย่าง หรือแต่ละนามนี้ ต่างก็มีสายพันธุ์ต่างๆ ที่แตกแขนงออกไปเป็นพันธุ์ (Species) เป็นชนิด (Variety)
ก็จะเหมือนๆ กับการพูดถึง “กล้วยไม้” หรือ “กุหลาบ” อย่างนั้นเอง เพราะชื่อของทิวลิป กล้วยไม้ และกุหลาบ เป็นคำสามัญนามที่ไม่ได้มีจัดแยกประเภทกันว่า เป็นต้นไม้หรือดอกไม้อย่างไหน พันธุ์ไหน หรือชนิดไหน พันธุ์พืชแต่ละอย่าง หรือแต่ละนามนี้ ต่างก็มีสายพันธุ์ต่างๆ ที่แตกแขนงออกไปเป็นพันธุ์ (Species) เป็นชนิด (Variety)
ลักษณะ
ทิวลิปเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบเล็กเรียวยาว ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบจะเป็นแนวขนานไปตามความยาวของใบ และเรียวลู่ไปรวมกันที่บริเวณปลายใบ ใบแต่ละใบจะออกสลับทิศทางตรงข้ามกัน ต้นหนึ่งๆ จะออกใบประมาณ 3-4 ใบ โดยปรกติทิวลิปจะมีขนาดสูงระหว่าง 12-18 นิ้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่พันธุ์และชนิดของทิวลิปแต่ละอย่าง ดอกของทิวลิปก็เช่นเดียวกัน มีหลายแบบ หลายสี และหลายขนาด แต่โดยปรกติดอกทิวลิปจะเป็นดอกไม้รูปถ้วย ยามบานไม่บานแฉ่ง แต่จะบานเพียงแค่แย้มๆ กลีบออก ให้รู้ว่าเป็นดอกทิวลิปที่บานแล้ว แต่อย่างบายแฉ่งก็มีบ้าง เหมือนกัน เช่น พวกดอกทิวลิปซ้อนหลายๆ ชั้น ปรกติดอกทิวลิปจะมีกลีบดอกซ้อนกันเพียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบดอกของทิวลิปมีสีสันต่างๆ มากมายหลายเฉดสี นับตั้งแต่สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วนๆ และสีผสมในดอกเดียว หรือที่เรียกว่า ”Broken Tulips” เกสรผู้เป็นสีเหลืองอ่อน หรือขาวเป็นแท่งรูปหัวศรมี 6 เส้น เกสรเมียมีขนาดโตกว่าเกสรผู้ อยู่กึ่งกลางเกสรผู้ เป็นลักษณะแท่งรูปสามเหลี่ยมยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร ( ซึ่งมีขนาดยาวไล่เลี่ยกับเกสรผู้ ) ปลายเกสรเมียแต่ละเหลี่ยม งอลงเป็นสามแฉก ส่วนที่ปลายเกสรผู้บางพันธุ์อาจจะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำก็มี
ว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill |
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados |
วงศ์ : Asphodelaceae |
ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย ส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า |
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)