วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ต้นทองกวาว

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อวิทยาศาสตร์  Butea monosperma (Lam.) Taub.
วงศ์  LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ  Flame of the forest, Bastard Teak
ชื่ออื่น  กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ ทองต้น
ไม้ต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 -15 เมตร เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอนส่วนใหญ่ ทรงกระบอกหรือทรงกลม
เปลือก  สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเทาคล้ำ แตกเป็นร่องตื้น ๆ และเป็นปุ่มปม ลำต้นและกิ่งคดงอ
ใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ  มีใบย่อย 3 ใบ ใบ กลางรูปมนกว้างเกือบกลม ปลายใบมนโคนใบสอบ
ส่วนใบข้างอีก 2 ใบ  รูปไข่  ปลายใบมน โคนใบแหลมแผ่นใบหนา และมีขนทั้งสองด้าน
ดอก  ใหญ่รูปดอกถั่วสีเหลืองถึงแดงแสด ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง   ยาว 2 - 15 ซม.
กลีบดอก 5 กลีบ  ยาวประมาณ 5 - 8 ซม.
 ผล  เป็นฝักรูปขอบขนาน แบน กว้างประมาณ 3 - 4 ซม. ยาวประมาณ 10 - 15 ซม. มีขนนุ่ม เมล็ดแบน 1 - 2 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
นิเวศวิทยา ขึ้นตามที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้า หรือป่าละเมาะ
ที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ ส่วนภาค อื่นขึ้นกระจัดกระจาย
ยกเว้นภาคใต้
ออกดอก ธันวาคม - มีนาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด เด็ดปีกแล้วนำไปแช่น้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
ข้อสังเกตและผลการทดลอง  1.  เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 10 วัน
2.  ภายในระยะเวลา 3 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30 ซม.  สามารถย้ายปลูกได้
ประโยชน์  เปลือกใช้ทำเชือกและกระดาษ ยางแก้ท้องร่วง
ใบตำพอกฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด ท้องขึ้น ริดสีดวง เข้ายาบำรุง
กำลังดอก ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ   ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม  บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาวทาแก้คันและแสบร้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น