ต้นกันภัยมหิดล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Afgekia mahidoliae Burtt et Chermsir) ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศไทยโดยนายเกษม จันทรประสงค์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ต้นกันภัยมหิดล เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุว่า เป็นต้นไม้ที่พบในประเทศไทย ปลูกง่าย นามเป็นมงคลและพ้องกับชื่อมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นไม้เถาแต่ก็มีลักษณะสวยงาม สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ อายุยืน โดยเมื่อเถาแห้งไปก็สามารถงอกขึ้นใหม่ได้ ซึ่งความเป็นไม้เถาแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าและความสามารถปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดีเป็นไม้เถา แตกพุ่มหนาแน่น ยาวประมาณ 15 ม. มีขนคล้ายไหมหนาแน่นเกือบทุกส่วน หูใบออกเป็นคู่ รูปเคียว เบี้ยวเล็กน้อย ยาวประมาณ 1.5 ซม. ใบประกอบแกนกลางยาว 8-18 ซม. ก้านใบยาว 2.5 ซม. หูใบย่อยรูปเส้นด้าย ยาว 5 มม. ใบย่อยมี 4-6 คู่ เรียงเกือบตรงข้าม รูปไข่หรือขอบขนาน ยาว 1.5-7.5 ซม. ปลายใบกลม มีติ่งเล็กๆ โคนใบกลมหรือรูปหัวใจตื้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-4 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ ยาว 10-15 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ยาว 1.5-3 ซม. ก้านดอกยาว 0.7-1 ซม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง สีขาวอมม่วง หลอดกลีบยาว 5-7 มม. รูปปากเปิด กลีบบน 2 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 3-6 มม. กลีบล่าง 3 กลีบ ยาวไม่เท่ากัน รูปแถบหรือรูปลิ่มแคบ ยาว 0.5-1 ซม. กลีบดอกสีม่วงอ่อน กลีบกลางรูปรี ด้านในมีสีเข้ม พับงอกลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนกลีบรูปหัวใจ เป็นสันนูนทั้งสองด้าน เส้นกลางกลีบเป็นร่อง มีสีเหลืองแต้มใกล้โคน ที่โคนมีเดือยรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ ยาว 3 มม. กลีบปีกรูปขอบขนาน มีสีเข้ม ยาว 1.5 ซม. กลีบคู่ล่างยาวเท่าๆ กลีบปีก เชื่อมติดกันรูปคุ่ม ฝักรูปรีหรือขอบขนาน ยาว 7-9 ซม. หนาประมาณ 3 ซม. เมล็ดมี 1-2 เมล็ด สีน้ำตาล เกือบกลมที่มา ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น