วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ต้นหูกวาง

                 ต้นหูกวาง เป็นไม้ผลัดใบ เปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้สีน้ำตาล ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือทั้งต้น ราก ใบ และผล โดยทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย แก้บิด ลดไข้ ขับน้ำนม ให้ประจำเดือนมาปกติ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถเตรียมยาได้ด้วยตนเองโดยนำทั้งต้น (สดหรือแห้ง) มาล้างให้สะอาด ใส่น้ำนำไปต้ม นำน้ำที่ได้มาดื่ม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ส่วนเปลือกของต้นก็สามารถใช้เป็นยาสมุนไพรได้โดยมีสรรพคุณคือใช้รักษาอาการตกขาวที่ผิดปกติ แก้อาการท้องเดินได้ โดยนำเปลือกมาล้างให้สะอาด นำไสำหรับใบช่วยขับเหงื่อ รักษาอาการผื่นคันทางผิวหนัง รักษาโรคเรื้อน รักษาอาการไขข้อ ช่วยลดการอักเสบของทอนซิล และช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยใบใช้เป็นทั้งยาภายนอกและยาภายในได้ เมื่อใช้เป็นยาภายนอกก็นำใบมาล้างให้สะอาด นำไปตำและใส่น้ำสะอาด นำไปทาบริเวณผิวหนังที่เป็นหรือบริเวณไขข้อที่ปวด และถ้าใช้เป็นยาภายในก็นำใบมาล้างให้สะอาด ใส่น้ำ นำไปต้ม นำน้ำที่ได้มาดื่ม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรหยุดและไปพบแพทย์ สำหรับผลนำมารับประทานช่วยระบายได้ ปต้ม นำน้ำที่ได้มาดื่ม กิ่งแตกเวียนรอบลำต้น กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม และเมื่อแก่จะหลุดร่วงไป
ชื่อทั่วไป - หูกวาง
ชื่อสามัญ - Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Terminalia catappa L.
วงศ์ - COMBRETACEAE ชื่ออื่นๆ - โคน ดัดมือ ตัดมือ , ตาปัง , ตาแปห์ , หูกวาง , หลุมปัง
ถิ่นกำเนิด - ป่าชายหาด ตามโขดหินริมทะเล
ประเภท - ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ - ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เปลือกเรียบ แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นๆ - ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร - ดอก เล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน - ผล รูปไข่หรือรูปรีแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-7เซนติเมตร
การขยายพันธ์ - ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม - ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขึ้นตามหาดทราย และขึ้นได้ทั่วไป
ประโยชน์ - เปลือกและผล มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผล รับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายอัลมอนด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น