ข่อย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สนนาย เป็นไม้ยืนต้นที่ชาวไทยรู้จักกันดี เพราะข่อยนั้น ถือได้ว่า เป็นแปรงสีฟันในยุคแรกๆ ของประเทศไทยเลยทีเดียว คนโบราณเชื่อกันว่าหากบ้านใด ที่ปลูกต้นข่อยเอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะมีความมั่นคงปลอดภัย และแคล้วคลาดจากอันตรายที่เกิดจากผู้ไม่หวังดี หรือศัตรูที่อาจทำอันตรายแก่สมาชิกภายในบ้าน และผู้คนในบ้านก็จะมีความแข็งแกร่ง อดทนได้ดีเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งความเชื่อนี้ก็เกิดขึ้นเพราะต้นข่อยนั้น เป็นต้นไม้ที่แข็งแรงทนทาน มีอายุยืนหลายชั่วอายุคน และใบของมันยังนำมาโบกพัด เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไปจากบ้านได้เช่นกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Streblus asper Lour. |
ชื่อวงศ์ | MORACEAE |
ชื่อสามัญ | ข่อย |
ชื่อทางการค้า | Siamese rough bush, Tooth brush tree. |
ชื่อพื้นเมือง | กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ข่อย (ทั่วไป) ซะโยเส่ (กะหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ส้มพอ (ร้อยเอ็ด ) สะนาย (เขมร) |
ลักษณะทั้วไป | ข่อยเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง 5-15 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปม รูปทรง (เรือนยอด) พุ่มกลม แน่นทึบ พบทั่วไปในที่ราบ ในป่าเบญจพรรณแล้งจนถึงป่าดิบแล้งทั่วไปที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 20-600 เมตร ในต่างประเทศพบในลาว พม่า เขมร |
ใบ | ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ ตัวใบมีรูปร่างหลายลักษณะ มีทั้งรูปรี รูปสามเหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปไข่ ปลายมนโค้ง โคนใบแหลม ขอบใบหยัก ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-7 ซม. เนื้อใบหยาบและระคายมือ |
ดอก | ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างดอกกัน ออกใบที่ปลายกิ่ง ดอกตัวเมียอยู่เดี่ยวๆ ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กกว่ามาก และอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกดอก ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ |
ผล | รูปไข่ ขนาดประมาณ 0.5 ซม. มีเนื้อฉ่ำน้ำหุ้ม มีเมล็ดขนาดประมาณเมล็ดพริกไทย ผลแก่สีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสหวานกินได้ นกชอบกิน ผลแก่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน |
การขยายพันธุ์ | นิยมใช้รากปักชำ ซึ่งข่อยจะเติบโตได้เร็วกว่าใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด |
ประโยชน์ | เนื้อไม้ข่อยในสมัยโบราณนิยมนำมาทำกระดานข่อย เนื้อไม่นิยมนำมาก่อสร้าง เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนและไม่ทนทาน ลำต้นปลูกเป็นแนวกันลม ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ให้ความร่มรื่น หรือนำมาปลูกเป็นไม้ดัด ไม้แคระของไทยมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยนำมาปลูกแต่งสนามหญ้ากลางแจ้ง สามารถตัดแต่งเรือนยอดได้ดี |
สรรพคุณทางยา | เปลือก มีสรรพคุณแก้โรคฟัน รักษาแผล แก้ท้องร่วง รสเบื่อเมา ดับพิษภายใน ทาริดสีดวงแก้พยาธิผิวหนัง ต้มกับเกลือให้เค็มเป็นยาอมแก้รำมะนาด ยาง จากต้นไม้มีน้ำย่อยชื่อ milk (lotting enzyme) ใช้ย่อยน้ำนม ราก ใช้เป็นยาใส่แผล เนื้อไม้ ใช้ผสมเป็นยาสูบ กิ่งอ่อน ทุบให้นิ่มใช้สีฟัน คนเชียงใหม่ใช้แก่นข่อยหั่นเป็นฝอยมวนเป็นบุหรี่สูบแก้ริดสีดวงจมูก เมล็ด เข้ายาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ และเจริญอาหาร ข่อย เป็นทั้งไม้ยืนต้น และเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรพคุณทางยามาตั้งแต่โบราณ เป็นต้นไม้ขวัญใจเด็กๆภูธร เพราะ "ลูกข่อย" นั้นมีรสหวานรับประทานอร่อย และพบได้ทั่วไป |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น